พ.ศ. 2544
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2544 |
ปฏิทินเกรกอเรียน | 2001 MMI |
Ab urbe condita | 2754 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1450 ԹՎ ՌՆԾ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6751 |
ปฏิทินบาไฮ | 157–158 |
ปฏิทินเบงกอล | 1408 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2951 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 49 Eliz. 2 – 50 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2545 |
ปฏิทินพม่า | 1363 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7509–7510 |
ปฏิทินจีน | 庚辰年 (มะโรงธาตุโลหะ) 4697 หรือ 4637 — ถึง — 辛巳年 (มะเส็งธาตุโลหะ) 4698 หรือ 4638 |
ปฏิทินคอปติก | 1717–1718 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3167 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1993–1994 |
ปฏิทินฮีบรู | 5761–5762 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2057–2058 |
- ศกสมวัต | 1923–1924 |
- กลียุค | 5102–5103 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 12001 |
ปฏิทินอิกโบ | 1001–1002 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1379–1380 |
ปฏิทินอิสลาม | 1421–1422 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชเฮเซ 13 (平成13年) |
ปฏิทินจูเช | 90 |
ปฏิทินจูเลียน | เกรกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4334 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 90 民國90年 |
เวลายูนิกซ์ | 978307200–1009843199 |
พุทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีมะเส็ง ตรีศก จุลศักราช 1363 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี
มกราคม
- 1 มกราคม - ประเทศกรีซเปลี่ยนมาใช้สกุลเงินยูโร
- 15 มกราคม - เปิดตัววิกิพีเดียอย่างเป็นทางการ
- 17 มกราคม - กองทัพแห่งความชอบธรรมพยายามเข้ายึดสนามบินศรีนาคาร์ในประเทศอินเดีย ทำให้สมาชิกกลุ่มเสียชีวิต 6 คน
- 20 มกราคม - จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ต่อจาก บิล คลินตัน หลังชนะการเลือกตั้งเมื่อปีที่แล้ว
- 26 มกราคม - เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในรัฐคุชราตของประเทศอินเดีย มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20,000 คน
- 29 มกราคม - นักศึกษาในประเทศอินโดนีเซียก่อจลาจลบุกรัฐสภา เรียกร้องให้ประธานาธิบดี อับดุรเราะห์มาน วาฮิด ลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นในคดีทุจริตในตำแหน่งหน้าที่
กุมภาพันธ์
- 6 กุมภาพันธ์ - เอเรียล ชารอน ชนะการเลือกตั้ง และขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิสราเอล
- 10 กุมภาพันธ์ - สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร กับหม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยา เข้ารับพระราชทานน้ำสังข์จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
- 12 กุมภาพันธ์ - ยานเนียร์ชูเมกเกอร์ลงแตะพื้นดินดาวเคราะห์น้อยอีรอส เป็นยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนดาวเคราะห์น้อย
- ไม่ทราบวัน - สมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 แห่งเดนมาร์ก เสด็จพระราชดำเนินเยือน ราชอาณาจักรไทย พร้อมด้วย เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี
มีนาคม
- 4 มีนาคม - เกิดระเบิดพลีชีพในเมืองเนทันยา ประเทศอิสราเอล มีผู้เสียชีวิต 3 คน กลุ่มฮามาสออกมาอ้างความรับผิดชอบ
- 9 มีนาคม - ตาลีบันทำลายพระพุทธรูปบามิยันด้วยระเบิดไดนาไมต์
- 15 มีนาคม - สลัดอากาศชาวเชเชน 3 คน บุกจี้เครื่องบินรัสเซียที่บินไปกรุงมอสโก ให้ไปลงที่เมืองมะดีนะห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หน่วยความมั่นคงของซาอุดิอาระเบียได้บุกยึดเครื่องบิน สังหารสลัดอากาศได้ มีผู้โดยสารเสียชีวิตด้วย
- 23 มีนาคม - รัสเซียบังคับให้สถานีอวกาศมีร์ ทำลายตัวเองในชั้นบรรยากาศ ชิ้นส่วนสถานีตกลงในตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับเกาะฟิจิ
พฤษภาคม
- 27 พฤษภาคม - กลุ่มอาบูไซยาฟจับตัวนักท่องเที่ยว 13 คนบนเกาะปาลาวันและอีก 3 คนบนเกาะบาสิลัน กองทัพฟิลิปปินส์เข้าช่วยเหลือ มีตัวประกันหนีมาได้ 9 คน เสียชีวิต 2 คน
มิถุนายน
- 1 มิถุนายน - การสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล
- 7 มิถุนายน - พรรคแรงงาน นำโดย โทนี แบลร์ ได้รับเลือกตั้งเป็นรัฐบาลสมัยที่ 2 ในสหราชอาณาจักร
- 12 มิถุนายน - กลุ่มอาบูไซยาฟเข้ายึดโรงพยาบาลในเมืองลามิงตัน เพื่อจับตัวประกัน
- 20 มิถุนายน - เปอร์เวซ มูชาร์ราฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีปากีสถาน
สิงหาคม
- 11 สิงหาคม - เหตุการณ์โคลนถล่มที่ตำบลน้ำก้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 147 คน ราษฎรกว่า 1,700 หลังคาเรือน ไร้ที่อยู่อาศัย
กันยายน
- 9 กันยายน - เกิดระเบิดพลีชีพในอัฟกานิสถาน ทำให้อาหมัด ชาห์ มาซูด ผู้นำกลุ่มพันธมิตรฝ่ายเหนือ ได้รับบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิต
- 11 กันยายน - วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544: ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินโดยสาร 3 ลำ เพื่อโจมตีเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ อาคารแฝดในนครนิวยอร์ก และอาคารเพนทากอน ที่ตั้งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ในวอชิงตัน ดี.ซี. เครื่องบินลำที่ 4 ตกในรัฐเพนซิลเวเนีย มีผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์นี้เกือบ 3,000 คน
ตุลาคม
- 1 ตุลาคม - เกิดระเบิดพลีชีพที่ประตูสภานิติบัญญัติเมืองศรีนาคา ประเทศอินเดีย มีมือปืนสองคนบุกเข้าจับตำรวจเป็นตัวประกัน ก่อนจะถูกสังหาร มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 40 คน
- 7 ตุลาคม - สงครามต่อต้านการก่อการร้าย: การรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นขึ้นเมื่อเวลา 23.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ด้วยการทิ้งระเบิดโจมตีกองกำลังตาลิบันและอัลไกดาทางอากาศ
- 17 ตุลาคม - รีฮาแวม ซีวี รัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวอิสราเอลถูกลอบสังหารโดยมือปืนชาวปาเลสไตน์ ทั้งนี้ กลุ่มแนวร่วมประชาชนเพื่อการปลดปล่อยปาเลสไตน์ออกมาอ้างความรับผิดชอบ
- 23 ตุลาคม - บริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ วางจำหน่ายไอพ็อด
- 25 ตุลาคม
- บริษัทไมโครซอฟท์วางจำหน่ายวินโดวส์เอกซ์พี
- เกิดเหตุการณ์คลังเก็บวัตถุระเบิดของแผนกที่ 5 กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก ระเบิด ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 17 คน บาดเจ็บ 90 คน
- 26 ตุลาคม - ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ลงนามในรัฐบัญญัติความรักปิตุภูมิ
- 28 ตุลาคม - มือปืนสวมหน้ากาก 6 คนกราดยิงเข้าไปในโบสถ์คริสต์ในเมืองบาฮาวาลเทอร์ ประเทศปากีสถาน มีผู้เสียชีวิต 15 คน
พฤศจิกายน
- 10 พฤศจิกายน - จอห์น โฮเวิร์ด ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3 ในประเทศออสเตรเลีย
- 13 พฤศจิกายน - การเจรจาการค้ารอบโดฮา: องค์การการค้าโลกปิดการประชุมที่ยาวนาน 4 วัน ณ เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์
- 26 พฤศจิกายน - คอนดรุซ ที่มั่นสุดท้ายของตาลีบันถูกพันธมิตรฝ่ายเหนือยึดครองได้
- 27 พฤศจิกายน-2 ธันวาคม - การแข่งขันฟุตซอลไทเกอร์ไฟว์ส ณ สนามสิงคโปร์อินดอร์สเตเดียม สาธารณรัฐสิงคโปร์
ธันวาคม
- 2 ธันวาคม
- สิ้นสุดการแข่งขันฟุตซอลไทเกอร์ไฟว์ส : ทีมที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศระดับคัพ ได้แก่ ทีมฟุตซอลทีมชาติสเปน ทีมที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศระดับเพลท ได้แก่ ทีมฟุตซอลทีมชาติอิหร่าน และทีมที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศระดับโบวล์ ได้แก่ ทีมฟุตซอลทีมชาติไทย
- เกิดระเบิดพลีชีพรถประจำทางที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล มีผู้เสียชีวิต 15 คน กลุ่มฮามาสออกมาอ้างความรับผิดชอบ
- 11 ธันวาคม - สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก หลังจากการเจรจานาน 15 ปี
- 13 ธันวาคม - ผู้ก่อการร้ายโจมตีรัฐสภาอินเดีย มีผู้เสียชีวิต 14 คน และเกือบทำให้เกิดสงครามระหว่างอินเดียกับปากีสถาน
- 29 มกราคม - พลอย ศรนรินทร์ นักแสดงชาวไทย
- 24 กุมภาพันธ์ - แพรวา สุธรรมพงษ์ ไอดอลชาวไทย
- 3 มีนาคม - ฝัน เชิญยิ้ม นักแสดงตลกชาวไทย
- 9 มิถุนายน - กรภัทร์ นิลประภา ไอดอลชาวไทย
- 16 มิถุนายน - นัดตะวัน ศักดิ์ศิริ นักแสดงชาวไทย
- 28 มิถุนายน - จินเจษฎ์ วรรธนะสิน นักร้องสัญชาติไทย-อเมริกัน
- 19 กรกฎาคม - อาภัสรา เลิศประเสริฐ นักแสดงชาวไทย
- 6 กันยายน - ปณิศา ศรีละเลิง ไอดอลชาวไทย
- 4 ตุลาคม - ณัฐกุล พิมพ์ธงชัยกุล ไอดอลชาวไทย
- 7 ตุลาคม - เจ้าหญิงซีนาตี เซโอโซแห่งเลโซโท
- 9 ตุลาคม - ณัฏฐธิดา อาสานนิ ไอดอลชาวไทย
- 23 ตุลาคม - วีรยา จาง ไอดอลชาวไทย
- 25 ตุลาคม - เจ้าฟ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์ มกุฎราชกุมารีแห่งเบลเยียม
- 1 พฤศจิกายน - วรรษมณฑ์ พงษ์วานิช นักร้องชาวไทย
- 6 พฤศจิกายน - ปวีณ์ธิดา สกุลพิพัฒน์ ไอดอลชาวไทย
- 28 พฤศจิกายน - พิมพ์นิภา ตั้งสกุล ไอดอลชาวไทย
- 1 ธันวาคม - เจ้าหญิงไอโกะแห่งญี่ปุ่น
- 31 กรกฎาคม - พอล แอนเดอร์สัน นักเขียนชาวอเมริกัน (เกิด 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469)
- 3 กันยายน - จรัล มโนเพ็ชร นักดนตรีชาวไทย (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2498)
- 18 กันยายน - บุษบา อธิษฐาน นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย (เกิด 2 เมษายน พ.ศ. 2510)
- 26 ธันวาคม - เสาว์ บุญเสนอ นักเขียนชาวไทย (เกิด 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2452)
- อาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก และ สแตนลีย์ คูบริก กำหนดให้เนื้อหาใน 2001 จอมจักรวาล ภาพยนตร์ที่ออกฉายใน พ.ศ. 2511 เกิดขึ้นในปีนี้ ซึ่งเป็นปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21
- เนื้อหาในภาพยนตร์อเมริกันเรื่อง ยูไนเต็ด 93 (ไฟลท์ 93) และ เวิร์ลเทรด เซ็นเตอร์ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์วินาศกรรม 9/11 ที่เกิดขึ้นในปีนี้
- สาขาเคมี – William S. Knowles, Ryoji Noyori, K. Barry Sharpless
- สาขาวรรณกรรม – เซอร์ วี เอส ไนปอล
- สาขาสันติภาพ – สหประชาชาติ, โคฟี อันนัน
- สาขาฟิสิกส์ – อีริค แอลลิน คอร์เนลล์, วูล์ฟกาง เคทเทอร์ลี, คาร์ล เอดวิน ไวอ์แมน
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – ลีแลนด์ เอช. ฮาร์ทเวลล์, อาร์ ทิโมธี ฮันท์, เซอร์ พอล เอ็ม. เนิร์ส
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – George A. Akerlof, Michael Spence, Joseph E Stiglitz
- 2001 Year-End Google Zeitgeist - เหตุการณ์สำคัญและคำค้นภาษาอังกฤษที่พบบ่อยที่สุดใน ปี ค.ศ. 2001 โดยกูเกิล
Other Languages
- Аҧсшәа
- Afrikaans
- Alemannisch
- አማርኛ
- Aragonés
- العربية
- مصرى
- Asturianu
- Авар
- Aymar aru
- Azərbaycanca
- تۆرکجه
- Башҡортса
- Basa Bali
- Boarisch
- Žemaitėška
- Bikol Central
- Беларуская
- Беларуская (тарашкевіца)
- Български
- भोजपुरी
- Banjar
- বাংলা
- বিষ্ণুপ্রিয়া মণিপুরী
- Brezhoneg
- Bosanski
- Català
- Chavacano de Zamboanga
- Mìng-dĕ̤ng-ngṳ̄
- Нохчийн
- Cebuano
- کوردی
- Qırımtatarca
- Čeština
- Kaszëbsczi
- Чӑвашла
- Cymraeg
- Dansk
- Deutsch
- Zazaki
- ދިވެހިބަސް
- ཇོང་ཁ
- Ελληνικά
- Emiliàn e rumagnòl
- English
- Esperanto
- Español
- Eesti
- Euskara
- Estremeñu
- فارسی
- Suomi
- Võro
- Føroyskt
- Français
- Arpetan
- Nordfriisk
- Furlan
- Frysk
- Gaeilge
- Gagauz
- 贛語
- Kriyòl gwiyannen
- Gàidhlig
- Galego
- Avañe'ẽ
- ગુજરાતી
- Gaelg
- Hausa
- 客家語/Hak-kâ-ngî
- עברית
- हिन्दी
- Fiji Hindi
- Hrvatski
- Hornjoserbsce
- Kreyòl ayisyen
- Magyar
- Հայերեն
- Interlingua
- Bahasa Indonesia
- Igbo
- Ilokano
- ГӀалгӀай
- Ido
- Íslenska
- Italiano
- 日本語
- La .lojban.
- Jawa
- ქართული
- Qaraqalpaqsha
- Kabɩyɛ
- Қазақша
- ភាសាខ្មែរ
- ಕನ್ನಡ
- 한국어
- Къарачай-малкъар
- Ripoarisch
- Kurdî
- Коми
- Kernowek
- Кыргызча
- Latina
- Lëtzebuergesch
- Лезги
- Limburgs
- Ligure
- Ladin
- Lumbaart
- Lingála
- Lietuvių
- Latviešu
- मैथिली
- Basa Banyumasan
- Malagasy
- Олык марий
- Māori
- Minangkabau
- Македонски
- മലയാളം
- Монгол
- मराठी
- Кырык мары
- Bahasa Melayu
- မြန်မာဘာသာ
- Эрзянь
- Dorerin Naoero
- Nāhuatl
- Napulitano
- Plattdüütsch
- Nedersaksies
- नेपाल भाषा
- Nederlands
- Norsk nynorsk
- Norsk bokmål
- Nouormand
- Sesotho sa Leboa
- Occitan
- Livvinkarjala
- ଓଡ଼ିଆ
- Ирон
- ਪੰਜਾਬੀ
- Pangasinan
- Kapampangan
- Papiamentu
- पालि
- Polski
- Piemontèis
- پنجابی
- Português
- Runa Simi
- Rumantsch
- Română
- Armãneashti
- Русский
- Русиньскый
- Саха тыла
- Sardu
- Sicilianu
- Scots
- سنڌي
- Davvisámegiella
- Srpskohrvatski / српскохрватски
- ၽႃႇသႃႇတႆး
- සිංහල
- Simple English
- Slovenčina
- Slovenščina
- Anarâškielâ
- Soomaaliga
- Shqip
- Српски / srpski
- Seeltersk
- Sunda
- Svenska
- Kiswahili
- Ślůnski
- தமிழ்
- తెలుగు
- Tetun
- Тоҷикӣ
- Türkmençe
- Tagalog
- Tok Pisin
- Türkçe
- Татарча/tatarça
- Reo tahiti
- Удмурт
- ئۇيغۇرچە / Uyghurche
- Українська
- اردو
- Oʻzbekcha/ўзбекча
- Vèneto
- Tiếng Việt
- West-Vlams
- Volapük
- Walon
- Winaray
- 吴语
- Хальмг
- მარგალური
- ייִדיש
- Yorùbá
- Zeêuws
- 中文
- 文言
- Bân-lâm-gú
- 粵語
- IsiZulu
Copyright
- This page is based on the Wikipedia article พ.ศ. 2544; it is used under the Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 Unported License (CC-BY-SA). You may redistribute it, verbatim or modified, providing that you comply with the terms of the CC-BY-SA.